วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

แผนภาพของเวนน์ออยเลอร์ (Venn-Euler Diagram)

เป็นแผนภาพที่นิยมใช้เขียนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเซต เพื่อให้ดูง่ายและชัดเจนมากขึ้น ปกติจะกำหนดเอกภพสัมพัทธ์  ด้วยกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก ภายในนั้นมีเซตซึ่งอาจเขียนเป็นวงกลม วงรี หรือรูปปิดอื่นๆ
การดำเนินการของเซต (Set Operations)

การดำเนินการของเซตจะทำให้ได้เซตใหม่เกิดขึ้น (แสดงด้วยส่วนที่แรเงาสีเทา) หลักๆแล้ว มีอยู่ 4 แบบ ดังนี้

1) ยูเนี่ยน (Union): ทำให้เกิดเซตใหม่ซึ่งสมาชิกมาจากทั้งสองเซต

2) อินเตอร์เซกชั่น (Intersection): เซตใหม่ที่ได้เป็นสมาชิกร่วมกันของทั้งสองเซต

3) ผลต่าง (Difference): ถ้าหาผลต่างของ A-B จะได้เซตผลลัพธ์เป็นเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ใน A แต่ไม่อยู่ใน B
4) คอมพลีเมนต์ (Complement): คอมพลีเมนต์ของ A เขียนแทนด้วย A’ คือสมาชิกทุกตัวที่เหลือในเอกภพสัมพัทธ์ยกเว้น A

มาศึกษากัน!!!!!!!


แผนภาพแวนออยเลอร์มาทบทวนกัน!!!!!!!!





สื่อแผนภาพแวนออยเลอร์





ที่มาของเนื้อหา 
  
ที่มาของรูปภาพ
http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.bloggang.com/data/krulemon/picture/1225871167.jpg&imgrefurl=http://www.bloggang.com/mainblog.php?id%3Dkrulemon%26month%3D29-10-2008%26group%3D9%26gblog%3D2&h=476&w=627&sz=53&tbnid=KlJULUHoTwVxkM:&tbnh=90&tbnw=119&zoom=1&usg=__vhbbwOyyqEYFZ_PeLNf84wSn0Hw=&docid=RoLPASN0tGcfkM&sa=X&ei=m5AxUtfkC8PorAeEhIGgBA&sqi=2&ved=0CC4Q9QEwAA&dur=43  12 กันยายน  2556
ที่มาวิดิโอ
http://www.youtube.com/watch?v=ZaqN04jSNvY 12 กันยายน 2556



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น