วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

คณิตศาสตร์กับการวัดระยะทาง

การวัดระยะทาง
ะยะทาง (distance)
 คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S
การกระจัด (displacement)
     คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S มีหมวกข้างบน

อัตราเร็ว 
     คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที

ความเร็ว 
     คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเดียวกับอัตราเร็วคือ เมตร/วินาที

ความเร่ง
     คือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณเวกเตอร์หรืออัตราการเปลี่ยนความเร็ว มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา²

การกระจัด หรือ การขจัด คือระยะทางที่สั้นที่สุดจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด [1] ระยะทางที่สั้นที่สุดก็คือความยาวของเส้นตรงสมมติที่ลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ดังนั้นมันจึงอาจแตกต่างจากเส้นทางเดินปกติก็ได้ เวกเตอร์การกระจัด ก็คือความยาวและทิศทางของเส้นตรงสมมติดังกล่าว
เวกเตอร์ตำแหน่งเป็นตัวบ่งชี้ตำแหน่งของจุด P ในปริภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระจัดจากจุดอ้างอิง O (โดยทั่วไปจะเป็นจุดกำเนิดของระบบพิกัด) เวกเตอร์ตำแหน่งแสดงให้เห็นว่า ถ้าเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรงโดยเริ่มจากจุด O ด้วยระยะทางและทิศทางนั้น ก็จะพบกับจุด P ที่ปลายทาง

ระยะทาง (Distance)
 ระยะทาง คือ ความยาวตามเส้นทางการเคลื่อนที่ หรือการเปลี่ยนตำแหน่ง ของวัตถุ ระยะทางใช้สัญลักษณ์  S” เป็นปริมาณสเกลาร์ มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่ต้องบอกทิศทาง มีหน่วยเป็น เมตร (m)
การกระจัด (Displacement)
 การกระจัด คือ ปริมาณที่บอกการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ หรือ เส้นทางที่สั้นที่สุดจากจุดเริ่มต้น ถึงจุดสุดท้าย ของการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ การกระจัดใช้สัญลักษณ์    http://www.scimath.org/images/uploads/vector5_1.jpgเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น เมตร (m)

แบบทดสอบ
จาพภาพข้างต้นจงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จากจุด  a ไปจุด  b ไปจุด  c  มีความยาวกี่เซนติเมตร
2.จากจุด  c  ไปจุด a   ไปจุด  b มีความยาวกี่เซนติเมตร
3.จากจุด b  ไปจุด c   ไปจุด  a  มีความยาวกี่เซนติเมตร

สื่่อการสอนเรื่องการวัดระยะทาง




ที่มาของเนื้อหา http://www.dek-d.com/board/view/2621491/
 ที่มาของรูปภาพ  

ที่มาของวิดิโอ http://www.youtube.com/watch?v=bLBjBpGuwzc 12 กันยายน 2556

มหัศจรรย์กับคณิตศาสตร์กับการหาร

การหาร
การหาร (อังกฤษ: division) ในทางคณิตศาสตร์ คือ การดำเนินการเลขคณิตที่เป็นการดำเนินการผันกลับของการคูณ และบางครั้งอาจมองได้ว่าเป็นการทำซ้ำการลบ พูดง่ายๆ คือการแบ่งออกหรือเอาเอาออกเท่าๆ กัน จนกระทั่งตัวหารเหลือศูนย์ (หารลงตัว)
ถ้า
a × b = c,
เมื่อ b ไม่เท่ากับ 0 แล้ว
(อ่านว่า "c หารด้วย b") ตัวอย่างเช่น 6หาร 2 เท่ากับ 3 เพราะว่า 2 คูณ 3 เท่ากับ 6
 ในนิพจน์ข้างบน a คือ ผลหาร, b คือ ตัวหาร และ c คือ ตัวตั้งหาร
นิพจน์ c ÷ b มักเขียนแทนด้วย "c/b" โดยเฉพาะในคณิตศาสตร์ขั้นสูง (รวมถึงการประยุกต์ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม) และในภาษาโปรแกรม การเขียนแบบนี้ มักใช้แทนเศษส่วน ซึ่งยังไม่ต้องการหาค่า
ในภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ c ÷ b มักเขียนว่า c : b ซึ่งในภาษาอังกฤษ จะใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) เมื่อมันเกี่ยวข้องกับสัดส่วน

สำหรับการหารด้วยศูนย์นั้น ไม่นิยาม

การหารจำนวนจริง

การหารจำนวนจริงสองจำนวน จะให้ผลลัพธ์เป็นจำนวนจริง เมื่อตัวหารไม่เท่ากับ 0. นิยามว่า a/b = c ก็ต่อเมื่อ a = cb และ b 0
การหารยาว

 คือกระบวนการอย่างหนึ่งเพื่อคำนวณการหาร โดยมีจำนวนเต็มเป็นตัวตั้งหาร (dividend) และจำนวนเต็มอีกจำนวนหนึ่งเป็นตัวหาร (dividor) เพื่อที่จะให้ได้ผลหาร (quotient) พร้อมเศษเหลือจากการหาร (remainder) การหารยาวจำเป็นต้องเตรียมเนื้อที่สำหรับเขียนจำนวนพอสมควร และเป็นวิธีการหารที่ง่ายถึงแม้ตัวตั้งหารเป็นจำนวนขนาดใหญ่ เนื่องจากกระบวนการนี้จะแบ่งตัวตั้งหารออกเป็นจำนวนย่อยๆ ที่เล็กลงสำหรับการหาร
ตัวอย่างการหารยาว



มาลองทำแบบฝึกหัดกันน่ะ!!!!



สื่อการสอนเรื่องการหาร





ที่มาของเนื้อหา

ที่มาของรูปภาพ

ที่มาของวิดิโอ 
http://www.youtube.com/watch?v=zi8HFPGFNFk 12 กันยายน 2556




แผนภาพของเวนน์ออยเลอร์ (Venn-Euler Diagram)

เป็นแผนภาพที่นิยมใช้เขียนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเซต เพื่อให้ดูง่ายและชัดเจนมากขึ้น ปกติจะกำหนดเอกภพสัมพัทธ์  ด้วยกรอบสี่เหลี่ยมมุมฉาก ภายในนั้นมีเซตซึ่งอาจเขียนเป็นวงกลม วงรี หรือรูปปิดอื่นๆ
การดำเนินการของเซต (Set Operations)

การดำเนินการของเซตจะทำให้ได้เซตใหม่เกิดขึ้น (แสดงด้วยส่วนที่แรเงาสีเทา) หลักๆแล้ว มีอยู่ 4 แบบ ดังนี้

1) ยูเนี่ยน (Union): ทำให้เกิดเซตใหม่ซึ่งสมาชิกมาจากทั้งสองเซต

2) อินเตอร์เซกชั่น (Intersection): เซตใหม่ที่ได้เป็นสมาชิกร่วมกันของทั้งสองเซต

3) ผลต่าง (Difference): ถ้าหาผลต่างของ A-B จะได้เซตผลลัพธ์เป็นเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ใน A แต่ไม่อยู่ใน B
4) คอมพลีเมนต์ (Complement): คอมพลีเมนต์ของ A เขียนแทนด้วย A’ คือสมาชิกทุกตัวที่เหลือในเอกภพสัมพัทธ์ยกเว้น A

มาศึกษากัน!!!!!!!


แผนภาพแวนออยเลอร์มาทบทวนกัน!!!!!!!!





สื่อแผนภาพแวนออยเลอร์





ที่มาของเนื้อหา 
  
ที่มาของรูปภาพ
http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.bloggang.com/data/krulemon/picture/1225871167.jpg&imgrefurl=http://www.bloggang.com/mainblog.php?id%3Dkrulemon%26month%3D29-10-2008%26group%3D9%26gblog%3D2&h=476&w=627&sz=53&tbnid=KlJULUHoTwVxkM:&tbnh=90&tbnw=119&zoom=1&usg=__vhbbwOyyqEYFZ_PeLNf84wSn0Hw=&docid=RoLPASN0tGcfkM&sa=X&ei=m5AxUtfkC8PorAeEhIGgBA&sqi=2&ved=0CC4Q9QEwAA&dur=43  12 กันยายน  2556
ที่มาวิดิโอ
http://www.youtube.com/watch?v=ZaqN04jSNvY 12 กันยายน 2556



มาช่วยกันคิดกับคณิตศาสตร์การคูณ

การคูณ
การคูณ คือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนจำนวนหนึ่งเป็นอัตรา การคูณเป็นหนึ่งในสี่ของการดำเนินการพื้นฐานของเลขคณิตมูลฐาน (การดำเนินการอย่างอื่นได้แก่ การบวก การลบ และการหาร)การคูณสามารถนิยามบนจำนวนธรรมชาติว่าเป็นการบวกที่ซ้ำๆ กัน ตัวอย่างเช่น 4 คูณด้วย 3 (หรือเรียกโดยย่อว่า 4 คูณ 3) หมายถึงการบวกจำนวน 4 เข้าไป 3 ชุด  
 เช่น
                                                       4+4+4=12
สำหรับการคูณของจำนวนตรรกยะ (เศษส่วน) และจำนวนจริง ก็นิยามโดยกรณีทั่วไปที่เป็นระบบของแนวความคิดพื้นฐานดังกล่าว
การคูณอาจมองได้จากการนับวัตถุที่จัดเรียงกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (สำหรับจำนวนธรรมชาติ) หรือการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยการหนดความยาวของด้านมาให้ (สำหรับจำนวนทั่วไป) ส่วนกลับของการคูณคือการหาร ในเมื่อ 4 คูณด้วย 3 เท่ากับ 12 ดังนั้น 12 หารด้วย 3 ก็จะเท่ากับ 4 เป็นต้น
การคูณสามารถนิยามให้ขยายไปบนจำนวนชนิดอื่นเช่นจำนวนเชิงซ้อน และมีโครงสร้างที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเช่นเมทริกซ์
โดยทั่วไปการคูณสามารถเขียนโดยใช้เครื่องหมายคูณ (×) ระหว่างจำนวนทั้งสอง (ในรูปแบบสัญกรณ์เติมกลาง) ตัวอย่างเช่น


2*3=6
3*4=12
อย่างไรก็ตามก็ยังมีการใช้สัญกรณ์อื่นๆ แทนการคูณโดยทั่วไป อาทิ
· ใช้จุดกลาง (·) หรือไม่ก็มหัพภาค (.) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น 5 · 2 หรือ 5 . 2 การใช้จุดกลางเป็นมาตรฐานในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ ที่ใช้มหัพภาคเป็นจุดทศนิยม แต่ในบางประเทศที่ใช้จุลภาคเป็นจุดทศนิยม จะใช้มหัพภาคเป็นการคูณแทน
·  ใช้ดอกจัน (*) เช่น 5*2 มักใช้ในภาษาโปรแกรมเพราะเครื่องหมายนี้ปรากฏอยู่บนทุกแป้นพิมพ์ และสามารถดูได้ง่ายบนจอมอนิเตอร์รุ่นเก่า การใช้เครื่องหมายนี้แทนการคูณเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ภาษาฟอร์แทรน
·  ในพีชคณิต การคูณที่เกี่ยวกับตัวแปรมักจะเขียนให้อยู่ติดกัน เรียกว่า juxtaposition ตัวอย่างเช่น xy หมายถึง x คูณ y และ 5x หมายถึง 5 คูณ x เป็นต้น สัญกรณ์เช่นนี้สามารถใช้กับจำนวนที่ครอบด้วยวงเล็บ เช่น  หรือ  ก็จะหมายถึง 5 คูณ 2
· ในการคูณเมทริกซ์ มีความแตกต่างระหว่างการใช้สัญลักษณ์กากบาทกับจุด กากบาทใช้แทนการคูณเวกเตอร์ ในขณะที่จุดใช้แทนการคูณสเกลาร์ ดังนั้นการตั้งชื่อเรียกจึงแตกต่างกันคือผลคูณไขว้และผลคูณจุดตามลำดับ
จำนวนที่ถูกคูณโดยทั่วไปเรียกว่า ตัวประกอบ (factor) หรือ ตัวตั้งคูณ (multiplicand) ส่วนจำนวนที่นำมาคูณเรียกว่า ตัวคูณ (multiplier) ตัวคูณของตัวแปรหรือนิพจน์ในพีชคณิตจะเรียกว่า สัมประสิทธิ์ (coefficient) ซึ่งจะเขียนไว้ทางซ้ายของตัวแปรหรือนิพจน์ เช่น 3 เป็นสัมประสิทธิ์ของ 3xy2
ผลลัพธ์ที่เกิดจากการคูณเรียกว่า ผลคูณ (product) หรือเรียกว่า พหุคูณ (multiple) ของตัวประกอบแต่ละตัวที่เป็นจำนวนเต็ม ตัวอย่างเช่น 15 คือผลคูณของ 3 กับ 5 และในขณะเดียวกัน 15 ก็เป็นทั้งพหุคูณของ 3 และพหุคูณของ 5 ด้วย
กล่าวสั้นๆ คือ 'บวก m เข้ากับตัวเอง n ตัว' สามารถเขียนได้ในลักษณะนี้เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น
           m × n = m + m + m + ... + m
หมายถึงมีจำนวน 'm' n ตัวบวกกันนั่นเอง

โดยใช้นิยาม เราสามารถพิสูจน์สมบัติของการคูณได้โดยง่ายดาย โดยดูจากสองตัวอย่างข้างต้น เรามีสมบัติว่า จำนวนสองจำนวนที่คูณกันสามารถสลับที่กันได้โดยผลคูณยังคงเดิม เราเรียกสมบัตินี้ว่า สมบัติการสลับที่ และ สมบัตินี้เป็นจริงสำหรับจำนวน x และ y ใดๆ นั่นคือ
x · y = y · x.
นอกจากนี้ การคูณยังมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่อีกด้วย ความหมายสำหรับจำนวน x,y และ z ใดๆ คือ
(x · y)z = x(y · z).
หมายเหตุจากพีชคณิต: เครื่องหมายวงเล็บ หมายถึง การดำเนินภายในวงเล็บจะต้องกระทำก่อนการดำเนินการภายนอกวงเล็บการคูณมีสมบัติการแจกแจง เพราะ
x(y + z) = xy + xz.
มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคูณกับ 1 นั่นคือ
1 · x = x.
เราเรียก 1 ว่า จำนวนเอกลักษณ์


มาฝึกทำแบบทดสอบกัน!!!!!!


1.  5*2 เท่ากับเท่าไร     2. 4*3 เท่ากับเท่าไร
                                             
ก.7     ข. 10      ค. 8                                ก.  12   ข. 15    ค. 18



ลองทำกันๆๆๆน่ะคราฟ

สื่อการสอนเรื่องการคูณ!!!!!!!!


ที่มาของเนื้อหา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93 วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556

ที่มาของวิดิโอ  http://www.youtube.com/watch?v=8C59ozztCy0 วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2556